จีน

เปิดประเด็นสหรัฐอเมริกา จะต้องรับมืออย่างไรกับ สมัยที่ 3 ของประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานาย สี จิ้นผิง ก็ได้กลับมาสู่สายตาชาวโลกอีกครั้ง ในฐานะประธานาธิบดีจีน ผู้มีอำนาจสูงสุด ในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งตามหลักแล้ว ธรรมเนียมชองประเทศจีน ในการดำรงตำแหน่ง ของผู้นำสูงสุดของจีนนั้น จะจำกัดเอาเพียงแค่ 2 สมัยเท่านั้น แต่ สี จิ้นผิง ก็ได้ทำลายกำแพงธรรมเนียมนั้นไปอย่างสิ้นเชิงด้วยการเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดี สมัยที่ 3 ของจีน

และถึงแม้ว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง จะเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งในประเทศ แต่ในทางกลับกัน ในเวทีระหว่างประเทศนั้น สถานะการกลับไม่ค่อยสู้ดีมากนัก เนื่องด้วย การพยายามสร้างความแข็งแกร่ง ให้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ จากหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลให้ เกิดการท้าทาย ฐานความคิดของชาวโลก ว่า ยิ่งประเทศจีนนั้นร่ำรวยเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีเสรีภาพมากขึ้นเท่านั้น

ความเชื่อนี้ช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือและการค้าระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลจีนมายาวนานหลายทศวรรษ มันคือพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้แต่ละปีทั้งสองชาติมีการค้าระหว่างกันมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้นายสีเริ่มการปกครองจีนเป็นสมัยที่ 3 และกำลังเผชิญสงครามการค้ากับสหรัฐฯ

และความพยายามกีดกันไม่ให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตชิปขั้นสูงของอเมริกา ซึ่งบรรดานักวิจารณ์ระบุว่าเป็นความพยายาม “ทุกวิถีทาง” เพื่อสกัดการผงาดอิทธิพลของจีน รัฐบาลจีนชี้ว่า ความสัมพันธ์ที่เย็นชาระหว่างสองชาติในช่วงไม่นานมานี้ เกิดจากการที่อเมริกาต้องการรักษาตำแหน่งมหาอำนาจของโลกเอาไว้

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาระบุว่ารัฐบาลจีนเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของโลกมากกว่ารัฐบาลรัสเซีย และรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เริ่มหารือว่าการที่จีนจะรุกรานไต้หวันนั้นมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้มากขึ้นทุกขณะ ไม่ใช่ภัยที่อยู่ห่างไกลอีกต่อไป

ท่าทีปัจจุบันของสหรัฐฯ ช่างแตกต่างจากห้วงเวลาในอดีตเมื่อครั้งที่ผู้นำสหรัฐฯ และจีนต่างประกาศร่วมกันว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทวิภาคจะเอาชนะความแตกต่างทางอุดมการณ์การเมือง และความตึงเครียดระหว่างกันในที่สุด

จีน
แล้วความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ และจีนดำเนินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร “ความเคยชินต่อเสรีภาพ”

การที่ประธานาธิบดีไบเดนปฏิบัติต่อจีนเยี่ยงคู่อริมากขึ้นทุกขณะนั้น ช่างย้อนแย้งกับท่าทีในอดีตของเขา ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 นายไบเดน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก คือตัวตั้งตัวตีผลักดันความพยายามในการต้อนรับจีนเข้าสู่องค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO)

“จีนไม่ใช่ศัตรูของเรา” นายไบเดนกล่าวต่อผู้สื่อข่าวขณะเดินทางไปนครเซี่ยงไฮ้เมื่อปี 2000 คำพูดนี้มาจากความเชื่อว่า การค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจะบีบให้จีนเข้าสู่ระบบที่มีมาตรฐานร่วมกัน และมีค่านิยมสากล ตลอดจนช่วยให้จีนผงาดขึ้นเป็นชาติมหาอำนาจที่มีความรับผิดชอบ

บรรดาธุรกิจยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ต่างก็วิ่งเต้นอย่างหนักให้จีนเปิดประเทศทำการค้ามากขึ้น โดยบริษัท British American Tobacco ต้องการขายสินค้าประเภทยาสูบในตลาดจีน ขณะที่สภาธุรกิจสหรัฐฯ-จีน องค์กรส่งเสริมความสัมพันธ์การค้าระหว่างสองชาติก็ต้องการเข้าถึงแรงงานราคาถูกในจีน

แม้จะมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มสหภาพแรงงานอเมริกัน ที่กังวลว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานในประเทศ จะตกงาน ขณะที่อีกฝ่ายแสดงความกังวลเรื่องปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนของจีน แต่สหรัฐฯ ก็ผลักดันให้จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้สำเร็จในปี 2000 นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐเทกซัส ได้กล่าวในสุนทรพจน์อันโด่งดังต่อกลุ่มคนงานบริษัทโบอิง

ระหว่างการหาเสียงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค.ปี 2000 ว่า “ในกรณีการค้า” กับจีนนั้น “ไม่ใช่แค่เรื่องเชิงพาณิชย์ แต่เป็นเรื่องของความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า” ว่าการค้าจะช่วยให้จีนดำเนินไปตามครรลองของประชาคมโลก “เสรีภาพทางเศรษฐกิจสร้างความเคยชินต่อเสรีภาพ และความเคยชินต่อเสรีภาพสร้างความคาดหวังต่อระบอบประชาธิปไตย”

ความเจริญรุดหน้าทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้มีความหวังขึ้นมาชั่วขณะว่าจะเกิดการปฏิรูปทางการเมืองขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีหลังจากจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO อินเทอร์เน็ตได้เปิดโอกาสให้ชาวจีนสามารถพูดคุยและแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในอดีต อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน เปรียบเปรยการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน

พยายามควบคุมอินเทอร์เน็ตว่าเหมือนกับการ “พยายามตอกตะปูตรึง “เจลโล” (Jell-O ขนมเยลลียี่ห้อหนึ่ง) ไว้กับฝาผนัง” ในยุคที่นายสีเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยแรก ในปี 2012 สื่อระหว่างประเทศต่างรายงานเรื่องความเจริญรุดหน้าทางเศรษฐกิจ และการถือกำเนิดของชนชั้นกลางกลุ่มใหม่ในจีนว่าเป็นหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นว่าจีนเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

และเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกัน นายสีก็เริ่มแสดงให้เห็นแนวทางการปกครองประเทศของเขามาตั้งแต่เริ่มต้น โดยชี้ว่า ชาวจีนที่เริ่มแสดง “ความเคยชินต่อเสรีภาพ” นั้นไม่ใช่ผลผลิตจากยุคโลกาภิวัตน์ที่น่าให้การต้อนรับ แต่เป็นสิ่งที่ต้องขจัดให้หมดสิ้นไปด้วยทุกวิถีทาง

เอกสารหมายเลข 9 ที่สำนักงานกลางพรรคคอมมิวนิสต์เผยแพร่ออกมาหลังนายสีขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำได้ไม่นานได้กำหนดภัยอันตราย 7 ประการที่จะต้องป้องกันจากสังคมจีน เช่น “ค่านิยมสากล” แนวคิดเรื่อง “ประชาสังคม” ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์ และเสรีภาพของสื่อ นายสีเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้คือความอ่อนแอทางอุดมการณ์

และเป็นอุปสรรคต่อการยึดถือแนวทางสังคมนิยม อันจะนำไปสู่การล่มสลาย ดังเช่นที่เกิดกับสหภาพโซเวียต แนวคิดเรื่องภัยคุกคามดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ในสังคมจีน และนายสีมองว่าค่านิยมสากลเปรียบเสมือน “ม้าโทรจัน” ที่แฝงตัวเข้ามาบ่อนทำลาย และจะนำพรรคคอมมิวนิสต์จีนไปสู่จุดจบแบบเดียวกับโซเวียต

ดังนั้นคำตอบของเขาคือการดำเนินการอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด ในการกระชับอำนาจตามลัทธิอำนาจนิยม และการปกครองประเทศตามระบบรัฐพรรคการเมืองเดียว

ตรึงเจลโลติดฝาผนัง

เมื่อเข้าสู่การปกครองประเทศในสมัยที่ 2 จีนก็เริ่มตอกตะปูตรึงเจลโลเข้ากับฝาผนังได้อย่างอยู่หมัด ทั้งการจำคุกบรรดานักกฎหมาย และปิดปากกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมือง ขจัดเสรีภาพในฮ่องกง และสร้างค่ายกักกันชาวมุสลิมอุยกูร์กว่าหนึ่งล้านคนในเขตปกครองตนเองซิเจียง ทางตะวันตกสุดของประเทศ

ถึงกระนั้น บรรดาชาติตะวันตกกลับยังเดินหน้าสนับสนุนเรื่องความร่วมมือทางการค้ากับจีน และยังไม่หันไปใช้นโยบายเพื่อสกัดการผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจของจีน เช่นที่จีนกำลังอ้างอยู่ในปัจจุบัน การเข้าเป็นสมาชิก WTO ช่วยให้จีนได้ประโยชน์มหาศาลจากความร่วมมือทางการค้ากับนานาประเทศ ในสหราชอาณาจักรมีช่วงเวลาที่เรียกว่า “ยุคทอง”

ซึ่งรัฐบาลส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้ากับจีนตั้งแต่ช่วงการดำรงตำแหน่งสมัยแรกของนายสีและดำเนินเรื่อยมาจนถึงสมัยที่สอง นี่ทำให้เราได้เห็นรัฐมนตรีและนักการเมืองอังกฤษจำนวนมากเดินทางเยือนจีน แม้จะมีข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เนือง ๆ ก็ตาม ในขณะที่บรรดานักการเมืองจากชาติประชาธิปไตยพากันป่าวประกาศให้โลกรู้ถึงประโยชน์ จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีน

แต่ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมักมีการหารือ “อย่างลับ ๆ” ในช่วงนี้เอง นายฮันเตอร์ ไบเดน บุตรชายคนเล็กของประธานาธิบดีไบเดน พยายามสานสัมพันธ์ทางธุรกิจกับกลุ่มบุคคลสัญชาติจีนที่มีความเกี่ยวโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์ จนกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองที่ส่งผลมาสู่เขาจนถึงปัจจุบัน

ในส่วนของนักลงทุนและนักธุรกิจนั้น ดูเหมือนหลายคนจะให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ที่ได้จากการทำธุรกิจกับจีนเหนือสิ่งอื่นใด บางคนมองว่า การมุ่งเป้าไปเฉพาะเรื่องการกดขี่ จำกัดเสรีภาพประชาชน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทางการจีนจะทำให้พลาดการมองภาพรวมที่ใหญ่กว่าในเรื่องความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ

นี่ทำให้นักการเมืองและนักธุรกิจจำนวนไม่น้อยละทิ้งคำมั่นสัญญาที่จะนำเสรีภาพทางการเมืองไปสู่จีน แล้วสถานการณ์พลิกผันไปได้อย่างไร

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ :  artgifts.net